Tuesday, April 15, 2014

การละเล่นพื้นเมืองประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ credit ขายอาหารเสริม

อาหารเสริม ราคาประหยัด อาหารเสริม อาหารเสริมสิบหนึ่ง  
อาหารเสริม ราคาพิเศษ

                ภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือที่เรียกกันว่าภาคอีสาน มีพื้นที่กว้างใหญ่กว่าทุกภาค มีประชากรมากที่สุด คือ ((((ขายอาหารเสริม)))) ประมาณ 1 ใน 3 ของประชากรทั้งประเทศ พื้นดินส่วนใหญ่ไม่ค่อยสมบูรณ์ ไม่สะดวกสบายในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนนัก เป็นที่ราบสูง ที่ดอนสูง และห่างไกลจากทะเล พื้นดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ ทำให้มีฤดูแห้งแล้งยาวนานกว่าภาคอื่น แม่น้ำโขง ชี มูล เปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดินเค็ม ปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ ไม่ค่อยงอกงาม หน้าหนาวมีอุณหภูมิต่ำ หนาวเย็น หน้าร้อนก็ร้อนจัดจนแล้ง ด้วยภูมิประเทศและภูมิอากาศที่มีความแตกต่างกันมากนี้ จึงเป็นปัจจัยกดดันให้สิ่งแวดล้อมตามธรรมชาติต้องปรับตัวตามไปด้วย ต้นไม้ สัตว์ป่า พืชผักหลายชนิดสามารถปรับตัวขึ้นได้ในพื้นที่ สัตว์บก สัตว์สะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกหลายชนิดสามารถปรับตัวขึ้นอยู่ในธรรมชาติได้ คนภาคตะวันออกฉียงเหนือ จึงต้องปรับตัวตาม มีความอดทน กล้าเผชิญกับความยากลำบาก รู้จักอดออม ประหยัดน้ำ ถนอมอาหารไว้ใช้ในยามแล้ง ประเพณี ความเชื่อ งานนักขัตฤกษ์ งานเทศกาลต่างๆ จึงมักมีความเกี่ยวพันกับสภาพแวดล้อมตามธรรมชาติ เช่น งานบุญบั้งไฟ เพื่อขอฝนให้ตกตามฤดูกาล งานบุญคุณลานเพื่อเป็นศิริมงคลแก่ลานข้าว ต้นข้าว งานบุญข้าวประดับดิน เพื่อรำบึกถึงคุณแผ่นดิน เป็นต้น ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีพื้นที่บางส่วนติดกับลาว บางส่วนติดกับกัมพูชา จึงเกิดการถ่ายทอดวัฒนธรรมซึ่งกันและกันทั้งทางด้านประเพณีความเชื่อ การแต่งกาย พิธีกรรม งานเทศกาล งานการละเล่น เกม กีฬาพื้นเมืองและอื่นๆ ซึ่งจะแสดงให้เห็นลักษณะเฉพาะตัวของชาวภาคตะวันออกเฉียงเหนือ :: ขายอาหารเสริม "

3.1 ความเป็นมาของการละเล่นพท้นเมืองประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ฝฝ ขายอาหารเสริม ผผ
                กีฬาพื้นเมืองไทยภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสาน ส่วนใหญ่นิยมเล่นกันในจังหวัดบุรีรัมย์ เลย สุรินทร์ หนองคาย ขอนแก่น นครราชสีมา อุบาลราชธานี สกลนคร ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ เป็นต้น กีฬาพื้นเมืองไทยบางชนิดเป็นกีฬาที่อาจเชื่อถือได้ว่าเป็นกีฬานำของกีฬาใหญ่หลายประเภท เช่น ตีคลี ซึ่งเป็นกีฬาพื้นเมืองของหลายจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชัยภูมิ นครพนม มหาสารคาม อุบาลราชธานี เป็นต้น และมีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน มีการเล่นมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยแล้ว อาจถือได้ว่าเป็นกีฬานำไปสู่กีฬาตีคลีในยุคปัจจุบันหรือนำไปสู่กีฬาฮอกกี้ที่มีการแข่งขันกันในกีฬาซีเกม เอเชี่ยนเกม และในกีฬาโอลิมปิก แม้จะไม่สามารถพิสูจน์ได้ชัดเจน แต่ก็เป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจที่เรามีกีฬาคล้ายกับกีฬาฮอกกี้เล่นกันมาเกือบพันปีแล้ว นั่นก็แสดงให้เห็นว่าเรื่องความคิดสร้างสรรค์แล้ว คนไทยก็มิได้น้อยหน้าคนชาติอื่นเลย
                กีฬาพื้นเมืองในภาคตะวันออกเฉียงเหนือหลายชนิด แสดงให้เห็นวัฒนธรรมทางด้านภาษาที่มีสำเนียงผิดเพี้ยนไปจากภาษากลางอยู่บ้าง เช่น ขี่ม้าหลังโปก ซึ่งคำว่า โปก เป็นภาษาอีสาน แปลว่า รอยด้าน รอยถลอก หรืออย่างกีฬาหมากฮูน คำว่า หมาก หมายถึง คำที่เรียกผลไม้ของชาวอีสานนั่นเอง ภาคกลางเรียกมะม่วง แต่ภาคอีสานจะเรียกหมากม่วง เป็นต้น กีฬาพื้นเมืองหลายชนิดสะท้อนให้เห็นวีถีชีวิตของคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น กีฬาแข่งเกวียน โคเกวียน วัวต่าง ซึ่งเป็นลักษณะการเลียนแบบวิถีชีวิตที่ยากลำบากซึ่งต้องเดินทางโดยใช้วัวเทียมเกวียนขนสัมภาระสินค้าไปยังท้องถิ่นต่างๆเพื่อการโยกย้ายที่อยู่ ติอต่อค้าขาย และการขนส่ง เป็นต้น อาหารเสริม

3.2 ตัวอย่างการละเล่นพื้นเมืองประจำภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3.2.1 ขาโถกเถก
ความเป็นมา www ขายอาหารเสริม wwww
                ขาโถกเถกเป็นกีฬาพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมเล่นกันมากในจังหวัดสกลนคร ศรีสะเกษ บุรัรัมย์ และนครราชสีมา บางท้องถิ่นเรียกว่าเดินโถกเถก คำว่า โถกเถก หมายถึง ไม้ที่ต่อขาสำหรับเดิน โถก หมายถึง ยาว เช่น คนขาโถก หมายถึง คนขายาว เถก หมายถึง เก้งก้าง ขาโถกเถก จึงหมายถึงการเดินโดยใช้ไม้ต่อขาให้ยาว เวลาเดินมองดูเก้งก้าง เพราะขายาวผิดส่วนจากปกติ กีฬาขาโถกเถกสันนัษฐานว่ามีการเล่นมานานแล้ว แต่ไม่สามารถหาหลักฐานมาอ้างอิงได้ แต่อย่างน้อยพบว่ามีการเล่นกันแล้วในสมัยรัชกาลที่6 ในสมัยนั้นเรียกว่าเดินต่อเท้าสูงจากพื้น กีฬาโถกเถก เป็นการเล่นเลียนแบบการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวันของคนภาคอีสานสมัยก่อน ซึ่งนิยมเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว ควาย เป็ด ไก่ ไว้ใต้ถุนบ้าน จึงมีขี้วัว ขี้ควาย ขี้เป็ด ขี้ไก่ ปะปนอยู่บนดินพอฝนตกก็เฉอะแฉะ เป็นที่น่ารังเกียจ ประกอบกับบางครั้งจะมีสัตว์มีพิษ เช่น ตะขาบ แมงป่อง หรืองูตามพื้นดิน จึงใช้ขาไม้มาต่อให้สูงขึ้น เพื่อใช้เดินผ่านไป ต่อมาจึงกลายมาเป็นกีฬาเล่นแข่งขันกัน เพื่อความสนุกสนานรื่นเริง เช่น เล่นกันในงานวัด หรืองานรื่นเริงต่างๆ ปัจจุบันนี้ยังมีการเล่นกันอยู่บ้าง แต่ไม่เป็นที่นิยมมากนัก ขายอาหารเสริม
                โอกาสที่เล่น
                เล่นได้ทุกโอกาสในเวลาว่าง ส่วนมากจะเล่นกันในงานประจำปี หรืองานประเพณีต่างๆ และนิยมเล่นกันตอนกลางคืนช่วงฤดูหนาว
                ผู้เล่น
                เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ นิยมเล่นกันในหมู่ผู้ชายไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น
                อุปกรณ์การเล่น
                ไม้ยาวมีกิ่งไม้ หรือขั้นสำหรับเหยียบได้ ยื่นออกมาจากไม้ กิ่งไม้หรือขั้นไม้ที่ยื่นออกมา สูงจากพื้นดินประมาณ 50-80 เซนติเมตร ตัวไม้ยาวสูงท่วมศรีษะผู้เล่น จำนวนคนละ 1 คู่ โดยทั่วไปมักนิยมใช้ไม้ไผ่ขนาดท่อนแขนมาริดกิ่งให้เหลือยืนพอเหยียบได้ตามกำหนด
                สถานที่เล่น
                บริเวณลานกว้างทั่วไป ส่วนมากเล่นกันตามลานวัด ลานบ้าน หรือสนามของโรงเรียน โดยกำหนดให้มีเส้นเริ่มต้นและเส้นชัย ห่างกันประมาณ 30-50 เมตร
                วิธีการ
1. ผู้เล่นแต่ละคนถือไม้ยาวทั้งคู่เตรียมพร้อมไว้หลังเส้นเริ่ม
2. เมื่อได้สัญญาณเริ่มเล่น ให้แต่ละคนขึ้นเหยียบบนกิ่งไม้ หรือขั้นไม้ที่ยื่นออกมา มือทั้งสองจับไม้ให้มั่น แล้วเดินด้วยไม้ยาวแข่งกันไปยังเส้นชัย
3. ผู้เล่นคนใดไปถึงเส้นชัยก่อนเป็นผู้ชนะ
กติกา
1. ไม้ยาวหรือไม้โถกเถกของผู้เล่นแต่ละคนต้องมีขนาดความสูงของกิ่งหรือขั้นไม้เท่ากัน หรือใกล้เคียงกัน
2. ขณะเดินด้วยไม้ยาว ผู้เล่นคนใดตกจากไม้ระหว่างทางจะถือว่าแพ้ ต้องออกจากการแข่งขัน
3. ให้มีกรรมการอย่างน้อยหนึ่งคน เพื่อควบคุมการเล่นและตัดสินผลการแข่งขัน
คุณค่า
1. ทางร่างกาย การเดินขาโถกเถกเป็นการยืนฝึกทรงตัวที่ดีอย่างหนึ่ง เพราะผู้เล่นต้องเดินไปบนไม้สูงซึ่งต่อออกไปจากขา ต้องอาศัยประสาทสัมผัสความรู้สึก และการถ่ายโยงน้ำหนักให้อยู่ในจุดสมดุลเป็นอย่างดี ในการก้าวเดินแต่ละก้าวจะต้องใช้กำลังของมือและแขนยกน้ำหนักของไม้และน้ำหนักตัวก้าวเดิน ทำให้มือและแขนได้ออกกำลัง ส่งเสริมด้านความแข็งแรงของกล้ามเนื้อแนอย่างดี นอกจากนี้การเคลื่อนไหวในการก้าวเดินยังต้องมีการประสานงานของประสาทกล้ามเนื้อของเท้า ขา มือ และลำตัว เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์กัน ถ้าเป็นการเดินในระยะไกลพอสมควรก็จะส่งเสริมให้เกิดความทนทานของระบบกล้ามเนื้อ และระบบการไหลเวียนโลหิตได้ด้วย และเนื่องจากการเล่นเป็นการแข่งขันด้วยความเร็ว จึงเป็นการฝึกให้เกิดความเร็วของการเคลื่อนที่ในลักษณะของการเดินบนไม้สูงด้วย
2. ทางจิตใจ การเดินบนไม้สูงเป็นลักษณะของการผจญภัย จึงส่งเสริมให้มีความตื่นเต้น สนุกสนานในการเล่นได้มาก ความกล้าหาญในการอยู่บนที่สูง ก็ได้รับการส่งเสริมให้เกิดขึ้นด้วย นอกจากนี้ผู้เล่นต้องอาศัยความเชื่อมั่นในตัวเองเป็นอย่างมากในการก้าวเดิน และการทรงตัวอยู่บนไม้ การฝึกและการเล่นแข่งขันขาโถกเถก ผู้เล่นต้องฝึกฝนเป็นเวลานาน ต้องอาศัยความอดทนทางด้านจิตใต ถ้าไม่มีความอดทนก็จะเลิกล้มไป ความสามารถในการเดินขาโถกเถก ส่งเสริมให้เกิดกำลังใจในการทำสิ่งต่างๆต่อไป ยิ่งประสบความสำเร็จในการแข่งขันก็ยิ่งเพิ่มกำลังใจให้กับตนเองได้มากขึ้น
3. ทางอารมณ์ ความสามารถในการเล่นทำให้ผู้เล่นเกิดความพึงพอใจ การฝึกหัดและการเล่นแข่งขันกัน ทำให้มีจิตใจจดจ่ออยู่กับกิจกรรมที่ทำ ซึ่งจะช่วยให้ลืมสิ่งอื่นๆชั่วขณะหนึ่ง เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดได้ในทางหนึ่ง ในขณะที่เล่นผู้เล่นต้องควบคุมอารมณ์ไม่ตื่นเต้นมากเกินไป ต้องอาศัยความรอบคอบตลอดเวลา จึงส่งเสริมคุณค่าทางอารมณ์ได้เป็นอย่างดี
4. ทางสติปัญญา ลักษณะการเดินขาโถกเถก ส่งเสริมให้ผู้เล่นเกิดการเรียนรู้ในเรื่องจุดสมดุล จุดศูนย์ถ่วงจากประสบการณ์จริงๆ รู้จักวิธีการแก้ปัญหาเมื่อเกิดการพลาดพลั้งตกจากไม้สูงว่าควรจะทำอย่างไร จึงจะไม่เป็นอันตรายแก่ตนเองและผู้อื่น รู้จักการตัดสินใจในทิศทางและความเร็วในการเดินว่าควรจะไปทางไหน เดินด้วยความเร็วมากน้อยเพียงไร จึงจะไม่ตกจากไม้และไปถึงที่หมายได้โดยเร็ว
5. ทางสังคม การเล่นขาโถกเถกแม้จะเป็นการเล่นเป็นบุคคล แต่ก็เป็นการเล่นในลักษณะของการแข่งขันเป็นกลุ่ม ซึ่งผู้เล่นย่อมมีโอกาสพบปะพูดคุยกันในขณะเล่น ก่อนเล่นและหลังการเล่น เป็นการสร้างความสนิทสนมซึ่งกันและกัน นอกจากนี้การแข่งขันโดยถือเอาเส้นชัยเป็นที่หมาย และมีกรรมการคอยตัดสินเป็นการสร้างคุณค่าในด้านความยุติธรรมและการเคารพกติกาได้เป็นอย่างดี

                3.2.2โคเกวียน
                ความเป็นมา
                เป็นกีฬาพื้นเมืองของจังหววัดร้อยเอ็ด ซึ่งเป็นการเลียนแบบสิ่งของที่ใช้ในชีวิตประจำวัน คือ โคเทียมเกวียน ต่อมาได้มาดัดแปลงเป็นกีฬา ใช้เล่นในยามว่างหรืองานรื่นเริงต่างๆ สมัยโบราณนิยมเล่นกันทั้งเด็กและผู้ใหญ่ แต่ในปัจจุบันผู้ใหญ่ไม่ค่อยนิยมเล่นมากนัก มีเล่นกันอยู่บ้างในหมู่เด็กตามโรงเรียน หรือในหมู่บ้านชนบท
                โอกาสที่เล่น
                เล่นได้ทุกโอกาส โดยมากเล่นกันในงานรื่นเริงประจำปีของชาวบ้าน
                ผู้เล่น
                เล่นในหมู่เด็กๆ ทั้งชายหญิง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็นทีม ทีมละ 3 คน
                อุปกรณ์
                ไม่ใช้
                สถานที่เล่น
                บริเวณลานกินที่มีพื้นที่กว้างขวาง เช่น สนามของโรงเรียน หรือลานวัด กำหนดให้มีเส้นเริ่มและเส้นชัยไว้เป็นระยะห่างกันประมาณ 30 เมตร
                วิธีเล่น
                1. แต่ละทีมยืนเตรียมพร้อมอยู่หลังเส้นเริ่ม ให้ผู้เล่น 2 คน ยืนคู่กันหันหน้าไปทางเส้นชัย เอี้ยงข้างด้านประชิดกัน ใช้มือของทั้งสองคนจับประสานกันทั้งสองมือ สมมุติว่าเป็นโค อีกคนหนึ่งขึ้นไปนั่งห้อยขาบนมือของผู้เล่น 2 คนที่ประสานกันนั้น หันหน้าไปทางเส้นชัย ใช้มือจับไหล่ของผู้เล่นที่เป็นโคไว้ สมมุติให้เป็นเกวียน
                2. เมื่อแต่ละทีมเตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้ว กรรมการจะให้สัญญาณเริ่มเล่น ผู้เล่นแต่ละทีมจะต้องวิ่งแข่งขันกันไปยังเส้นชัย
                3. ทีมใดไปถึงเส้นชัยก่อนจะเป็นผู้ชนะ
                กติกา
                1. ขณะวิ่งแข่งทีมใดปล่อยมือให้เกวียนหลุดออกจากโคหรือเท้าผู้เป็นเกวียนหล่นถึงพื้น ถือว่าหมดสิทธิ์การเล่น ต้องออกจากการเล่นไป
                2. ให้มีกรรมการ 1 คน ทำหน้าที่ควบคุมการเล่น และตัดสินการแข่งขัน
                คุณค่า
                1. ทางร่างกาย ผู้เล่นที่จับมือประสานกัน ให้ผู้เล่นที่เป็นเกวียนขึ้นไปนั่ง ได้ใช้กำลังของแขน ขา และลำตัว ไปตลอดจนกระทั่งถึงเส้นชัย เป็นการแบกน้ำหนักผู้เล่นเคลื่อนที่ไป ส่งเสริมให้เกิดความแข็งแรง พลังกล้ามเนื้อและความอดทนของกล้ามเนื้อ ทั้งยังได้ฝึกความเร็วในการวิ่งไปให้ถึงที่หมาย และส่งเสริมความอดทนของระบบไหลเวียนโลหิตและระบบหายใจ หากได้เล่นหรือแข่งขันหลายครั้ง เป็นระยะไกลๆการนั่งบนมือต้องอาศัยการทรงตัวของผู้เล่นแต่ละคน และประสานงานร่วมกันทั้ง 3 คนด้วย
                2. ทางจิตใจ ส่งเสริมความเป็นผู้มีน้ำใจในด้านต่างๆ เช่นความใจกว้างที่ยอมเป็นโค ความรู้สึกเห็นใจผู้อื่นที่ต้องเหน็ดเหนื่อยมากกว่าตัวเองของผู้ขี่ ความมีน้ำใจไม่ริษยาผู้อื่น ยอมรับความสามารถของผู้อื่น
                3. ทางอารมณ์ จากการเล่นทำให้มีอารมณ์เปลี่ยนแปลงไปได้บ้างซึ่งอาจจะเกิดขึ้นจากสาเหตุหลายประการ ผู้เล่นทุกคนต้องระงับอารมณ์ต่างๆเหล่านั้น ซึ่งผู้เล่นจะต้องใช้อารมณ์ต่างๆมาประกอบเพื่อเป็นการระงับอารมณ์ให้เป็นไปในทิศทางที่ดี
                4. ทางสติปัญญา การเลือกตำแหน่งผู้เล่นว่าใครจะเล่นเป็นโคหรือใครจะเป็นเกวียน ต้องใช้เหตุผลประกอบ การวิ่งไปข้างหน้าในลักษณะมือประสานกัน และมีคนนั่งบนมือ ทำให้เรียนรู้เรื่องเกี่ยวกับน้ำหนัก จุดศูนย์ถ่วงและการทรงตัว
                5. ทางสังคม การรวมกันเป็นทีม 3 คน ทำให้มีความใกล้ชิดกัน มีการร่วมมือร่วมใจกันมากขึ้น การมีเพื่อน 2 คนยอมเป็นโค เป็นการแสดงถึงความเสียสละ ผู้ที่เป็นเกวียนก็มีโอกาสแสดงถึงความเห็นอกเห็นใจเพื่อน แม้ผลจะเป็นอย่างไร ผู้เล่นทั้งทีมก็ยอมรับผลร่วมกัน

                3.2.3 ตีไก่
                ความเป็นมา
                ตีไก่เป็นกีฬาพื้นเมืองของประเทศไทยที่นิยมเล่นกันโดยทั่วไปแทบทุกภาค มีลักษณะการเล่นเลียนแบบอาการที่ไก่ตีกันหรือการชนไก่ของชาวบ้าน ไม่ปรากฏหลักฐานว่ามีการเล่นกันมาตั้งแต่สมัยใด แต่พบหลักฐานว่ามีการเล่นกันมาแล้วตั้งแต่ปี พ.ศ.24๗5 กีฬาตีไก่นิยมเล่นกันในทุกๆภาค ต่อมาได้มีการลดความนิยมลงจนเหลือเพียงแต่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ยังมีการเล่นกันอยู่ทั่วไป มักจะจัดให้มีกิจกรรมกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์
                โอกาสที่เล่น
                เล่นได้ทุกโอกาสในยามว่างจากการงาน นิยมเล่นและแข่งขันกันในเทศกาลตรุษสงกรานต์
                ผู้เล่น
                เล่นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่อย่างน้อยต้องมีผู้เล่น 2 คนขึ้นไป
                อุปกรณ์การเล่น
                ไม่ใช้
                สถานที่เล่น
                บริเวณลานกว้างทั่วไป เช่น ลานบ้าน ลานวัด มีการกำหนดขอบเขตของสนามเล่นเป็นรูปวงกลมที่พื้น มีขนาดตามแต่จะตกลงกัน
                วิธีเล่น
                1. ให้ผู้เล่นแต่ละคนนั่งยองๆ ภายในวงกลม เอาแขนทั้งสองข้างสอดจับกันไว้ใต้ขาพับให้แน่น
                2. เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มเล่น ให้ผู้เล่นแต่ละคนกระโดดเข้ามากลางสนาม แล้วใช้ด้านข้างลำตัวชนกัน ฝ่ายใดล้มหรือมือหลุดจากกันจะเป็นผู้แพ้
                3. ผู้ที่สามารถชนคนอื่นล้มลงหรือมือหลุดออกจากกันหมดทุกคน จนเหลือเพียงคนเดียว ผู้นั้นจะเป็นผู้ชนะ
                กติกา
                1. ผู้เล่นที่ถูกชนล้มลงหรือมือหลุดจากกัน จะถือว่าตาย ต้องออกจากสนามแข่งขัน
                2. ผู้เล่นต้องอยู่ภายในเขตวงกลมที่กำหนดให้ ถ้าออกนอกเขตจะถือว่าตาย
                3. ในการแข่งขันให้มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ควบคุมการเล่น และตัดสินผลการแข่งขัน
                คุณค่า
                1. ทางร่างกาย การนั่งยองๆ สปริงปลายเท้ากระโดดไปมา เพื่อเอาไหล่ชนกัน ทำให้กล้ามเนื้อส่วนเท้าและขาได้ทำงาน ช่วยให้เกิดความแข็งแรงและเกิดกำลังได้ดี ทั้งต้องอาศัยการทรงตัวในท่านั่งไม่ให้ล้มเสียหลักได้ง่าย การใช้มือจับกันไว้ใต้ขาพับ ทำให้ลำตัวก้มลงไปข้างหน้า ส่งเสริมให้เกิดความอ่อนตัวได้อีกทางหนึ่ง การกระโดดไปมาในท่าย่อตัวนานๆ ทำให้กล้ามเนื้อขาและเท้าต้องทนทานต่อการรับน้ำหนักตัว
                2. ทางจิตใจ การแข่งขันตัวต่อตัวในลักษณะที่ผู้เล่นต้องใช้ความสามารถของตัวเองโดยเฉพาะเท่านั้นจะช่วยส่งเสริมด้านความกล้าในการแสดงความสามารถ กล้าเผชิญหน้ากับผู้แข่งขัน ทั้งยังส่งเสริมให้เกิดความอดทนและเชื่อมั่นในการต่อสู้ ผู้แข่งขันก็จะมีจิตใจเข็มแข็งไม่ย่อท้อ
                3. ทางอารมณ์ การกระทบไหล่กันอาจจะรู้สึกเจ็บบ้างเล็กน้อย เมื่อแพ้จากการเล่น อาจจะเสียใจหรือไม่พอใจ แต่ผู้เล่นจะต้องรู้จักควบคุมอารมณ์ตัวเอง รู้จักยั้งคิด
                4. ทางสติปัญญา การใช้ไหล่ชนกันต้องใช้ไหวพริบ และการตัดสินใจที่ถูกต้อง รวดเร็ว ว่าจะเคลื่อนไปทางไหน เมื่อใดจะถอยหนี สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้และเกิดประสบการณ์หลายๆอย่างพร้อมกัน
                5. ทางสังคม การเล่นตีไก่ซึ่งใช้ไหล่ชนกัน แม้จะมีการปะทะกันบ้างเป็นครั้งคราว แต่ก็เป็นการเล่นกันฉันท์เพื่อน ไม่ใช่เป็นการทำให้ใครบาดเจ็บ ส่งเสริมให้มีความเข้าอกเข้าใจกัน เมื่อฝ่านใดแพ้ก็ยอมรับในความสามารถของผู้ชนะ

                3.2.4 ตีคลี
                ความเป็นมา
                ตีคลีเป็นกีฬาพื้นเมืองที่เก่าแก่มากชนิดหนึ่งของประเทศไทย มีลักษณะการเล่นคล้ายฮอกกี้ของสากล เป็นกีฬาประเภททีม ผู้เล่นแต่ละคนจะถือไม้ยาวปลายงอไล่ตีลูกกลมขนาดเท่าผลส้มเขียวหวาน ให้ผ่านเข้าไปในเขตแดนของฝ่ายตรงข้าม ไม่ปรากฏว่ามีการเล่นกีฬาตีคลีตั้งแต่เมื่อใด แต่พบว่ามีการเล่นกีฬาตีคลีแล้วตั้งแต่สมัยสุโขทัย โดยในสมัยสุโขทัยมีทั้งการเล่นคลีช้าง คลีม้า และคลีคน ในสมัยกรุงธนบุรีต่อเนื่องมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น พบว่ามีการเล่นตีคลีปรากฏเป็นหลักฐานในวรรณคดีหลายเรื่องด้วยกัน เช่น ลิลิตเพชรมงกุฏ สังข์ทอง
                จากที่กล่าวมานี้จะเห็นได้ว่าตีคลีเป็นกีฬาที่นิยมเล่นกันมาทุกยุคทุกสมัย ต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง ความนิยมในคลีช้างและคลีม้าลดลง การเล่นตีคลีถือเป็นการเล่นกีฬาเพื่อออกกำลังกายและเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงในยามว่างของชาวบ้านสมัยก่อนส่วนมากมักเล่นกันในฤดูหนาวหรือฤดูแล้ง เมื่อเก็บข้าวเสร็จ ชาวบ้านจะใช้ทุ่งนาเป็นสนาม กลางคนจะใช้วิธีเผาลูกคลีให้เป็นก้อนไฟ
                โอกาสที่เล่น
                เล่นได้ทุกโอกาสที่ว่าง ส่วนมากมักเล่นในฤดูแล้ง หรือฤดูหนาว หลังจากการเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว เล่นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน
                ผู้เล่น
                เล่นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยแบ่งผู้เล่นออกเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆกัน ตั้งแต่ฝ่ายละ 2-3 คน จนถึง 10-12 คน
                อุปกรณ์การเล่น
                1. ไม้ยาวประมาณ 6-80 เซนติเมตร ขนาดกำได้รอบพอดี ปลายไม้ด้านหนึ่งงอโค้ง เรียกว่าไม้คลี จำนวนคนละ 1 อัน ตามปกติจะใช้กิ่งไม้ที่งอปลาย หรือกิ่งไผ่ที่มีส่วนงอปลาย
                2. ไม้แก่นตัดเป็นก้อน แล้วกลึงลูกให้กลมเท่ากับขนาดผลส้มเขียวหวาน เรียกว่า ลูกคลี จำนวน 1 ลูก
                สถานที่เล่น
                นิยมเล่นกันในสนามที่มีบริเวณกว้างขวางมากๆ เช่น ทุ่งนา โดยกำหนดเส้นเขตแดนของแต่ละฝ่ายเป็นเขตยาว หรือปักธงเป็นเครื่องสังเกตไว้ ให้เส้นแดนทั้งสองฝ่ายประมาณ 30-50 เมตร ตรงกึ่งกลางสนามให้ทำเครื่องหมายแบ่งแดนไว้
                วิธีเล่น
                1. ผู้เล่นทั้งสองฝ่ายถือไม้คลีไว้ในมือ ยืนอยู่ในเขตแดนของตนเอง หันหน้าไปทางเขตแดนตรงข้าม มีลูกคลีอยู่ตรงจุดกึ่งกลางสนาม
                2. เริ่มเล่นโดยหัวหน้าของแต่ละฝ่ายมายืนหันหน้าเข้าหากันใกล้ลูกคลี ให้ลูกคลีอยู่ตรงกลาง เมื่อได้สัญญาณเริ่มเล่นจากกรรมการ ให้หัวหน้าของทั้ง 2 ฝ่ายใช้ไม้คลีกระทบกันข้างบนเหนือลูกคลี 1 ครั้ง แล้วรีบใช้ไม้แย่งเขี่ยลูกคลีส่งไปให้พวกตนโดยเร็ว การกระทบไม้เริ่มเล่นนี้ เรียกว่า กุบคลี
                3. เมื่อกุบคลีแล้ว ต่างฝ่ายต่างก็พยายามตีลูกคลีส่งไปให้เพื่อนร่วมทีมของฝ่ายตนแล้วพาลูกไปยังเขตแดนฝ่ายตรงข้ามให้ได้ ขณะเดียวกันฝ่ายตรงข้ามก็ต้องพยายามแย่งลูกคลี แล้วนำมาครอบครองในฝ่ายตน เพื่อนำไปยังเขตแดนตรงข้ามเช่นกัน ฝ่ายใดนำลูกคลีผ่านเส้นของแดนฝ่ายตรงข้ามได้ ฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะครั้งนั้น
                4. ฝ่ายใดสามารถตีลูกคลีผ่านเส้นเขตแดนของฝ่ายตรงข้ามได้มากครั้งกว่า ฝ่ายนั้นจะเป็นผู้ชนะในการเล่นครั้งนั้น
                กติกา
                1. ก่อนเริ่มเล่น ผู้เล่นแต่ละฝ่ายจะต้องอยู่ในเขตแดนของตนเอง
                2. ห้ามใช้ไม้คลีกระทบกัน หรือตีกระทบถูกตัวผู้เล่น หรือใช้ไม้คลีก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้เล่นฝ่ายตรงข้าม
                3. ห้ามใช้มือจับลูกคลี
                4. เมื่อแพ้ชนะกันครั้งหนึ่งแล้ว เริ่มเล่นใหม่ โดยนำลูกคลีไปตั้งเริ่มเล่นกลางสนาม
                5. ผู้เล่นฝ่ายใดกระทำผิดกติกา ให้ฝ่ายที่ไม่ได้กระทำผิดได้ตีลูกกินเปล่า ณ จุดเกิดเหตุ
                6. ให้มีกรรมการอย่างน้อย 1 คน ทำหน้าที่ควบคุมการเล่นและตัดสินผลการแข่งขัน
                คุณค่า
                1. ทางร่างกาย การเล่นตีคลี ผู้เล่นต้องอาศัยการวิ่งอย่างรวดเร็ว จึงส่งเสริมสมรรถภาพทางกายในด้านความเร็วได้เป็นอย่างดี ในการวิ่งนอกจากจะวิ่งเร็วแล้ว ยังต้องมีการหลบหลีกเปลี่ยนทิศทางการวิ่งและหยุดอย่างฉับพลัน ซึ่งเป็นการฝึกฝนด้านความคล่องแคล้ว ว่องไว และการทรงตัวไปพร้อมกันด้วย ทั้งยังส่งเสริมความอ่อนตัวและความแม่นยำ ความสัมพันธ์ระหว่างมือกับตา และความทนทานของระบบกล้ามเนื้อและระบบไหลเวียนของเลือดด้วย
                2. ทางจิตใจ แม้จะเล่นเป็นทีม แต่ผู้เล่นต้องแสดงความสามารถในการเล่นส่วนบุคคล จึงส่งเสริมในด้านความกล้าในการแสดงออก ความเชื่อมั่นในตนเอง มีใจกว้าง ให้โอกาสแก่ผู้อื่นในการเล่น และช่วยเหลือเพื่อนร่วมทีม
                3. ทางอารมณ์ ผู้เล่นจะต้องควบคุมอารมณ์ของตัวเองตลอดเวลาเพื่อปฏิบัติให้ถูกต้องตามกติกาและมารยาทในการเล่น เช่น การตี ต้องระวังไม่ให้ถูกตัวผู้อื่นเป็นต้น
                4. ทางสติปัญญาการเล่นเป็นทีมส่งเสริมการใช้สติปัญญาทั้งส่วนบุคคลและการวางแผนร่วมกันล่วงหน้า ต้องมีการใช้ความคิดประกอบกับเหตุผลต่างๆ วิเคราะห์แก้ปัญหาและเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน
                5. ทางสังคม เนื่องจากเป็นการแข่งขันระหว่างทีม จึงเกิดความสัมพันธ์กันภายในทีมอย่างแน่นแฟ้น ตั้งแต่การร่วมปรึกษาวางแผนในการเล่น การกำหนดตำแหน่งผู้เล่น ได้แสดงความคิดเห็นร่วมกัน มีการช่วยเหลือประสานงานในทีม อีกทั้งยังแสดงน้ำใจต่อฝ่ายตรงข้ามได้
               
                3.2.5 ลิงชิงหาง
                ความเป็นมา
                ลิงชิงหางเป็นกีฬาพื้นเมืองของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นกีฬาพื้นเมืองเก่าแก่ชนิดหนึ่ง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมีการเล่นกันมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา แม้จะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนตรงกับลิงชิงหาง แต่พบว่ามีการเล่นเลียนแบบพฤติกรรมสัตว์แล้วในขณะนั้น
                อย่างไรก็ตาม พบว่ามีการเล่นลิงชิงหางกันแล้วในสมัยรัชกาลที่ ๗ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก่อน พ.ศ.2480 นิยมเล่นกันในงานรื่นเริ่ง โดยเฉพาะในโรงเรียนสมัยก่อนครูมักจัดให้เด็กเล่นกันในเวลาที่ว่างจากการเรียน
                โอกาสที่เล่น
                เล่นได้ทุกโอกาสในเวลาว่าง นิยมเล่นกันมากในโรงเรียนสมัยก่อนและในเวลาว่างของชาวบ้าน
                ผู้เล่น
                เล่นกันในหมู่เด็กๆทั้งชายและหญิง ไม่จำกัดจำนวนผู้เล่น แต่อย่างน้อยควรมี 2-3 คนขึ้นไป
                อุปกรณ์การเล่น
                ใบมะพร้าวคนละใบ หรือผ้าเช็ดหน้าคนละผืน
                สถานที่เล่น
                บริเวณสนามหญ้าหรือลานกว้างทั่วไป เช่น ลานวัด หรือสนามในโรงเรียนโดยเขียนวงกลมเป็นสนาม 1 วง ให้มีขนาดพอเหมาะ กับจำนวนผู้เล่นสามารถวิ่งหลบหลีกกันได้สะดวก
                วิธีเล่น
                1. ผู้เล่นทุกคนใช้ใบมะพร้าวเหน็บที่ขอบกางเกงทางด้านหลังให้ห้อยออกมา สมมุติว่าเป็นหาง แล้วเข้าไปอยู่ในวงกลม
                2. เริ่มเล่นโดยผู้เล่นคนหนึ่งนับ 1 ถึง 3 เมื่อนับถึง 3 ผู้เล่นแต่ละคนจะลงมือวิ่งแย่งชิงหางกันเอง โดยใช้มือดึงหางของผู้เล่นคนอื่นให้หลุดจากขอบกางเกง และพยายามหลบหลีกไม่ให้โดนคนอื่นมาแย่งหางตน
                3. ผู้เล่นคนใดเหลือหางติดตัวเป็นคนสุดท้าย จะเป็นผู้ชนะ
                กติกา
                1. ผู้เล่นคนใดถูกแย่งหางหลุดจากขอบกางเกงได้ จะถือว่าตายและต้องออกจากวงกลม
                2. ให้ผู้เล่นตัดสินกันเอง
                คุณค่า
                1. ทางร่างกาย การเคลื่อนไหวหลบหลีกกันภายในวงกลมที่กำหนดให้ซึ่งเป็นลักษณะต่างคนต่างแย่งหางซึ่งกันและกัน ทำให้ต้องคอยเคลื่อนไหวร่างกาย ระมัดระวัง และยังได้ส่งเสริมความเร็วและความคล่องตัวอีกด้วย
                2. ทางจิตใจ ในการชิงหางกัน ผู้เล่นจะรู้สึกตื่นเต้น และเกิดความหวาดหวั่น เพราะกลัวผู้อื่นจะมาชิงหางของตนเองไป แต่ผู้เล่นก็ต้องพยายามข่มความรู้สึกไม่ให้เกิดความกลัว และกล้าเข้าไปชิงหางของผู้อื่น ถ้าหากถูกดึงหางไปก็ต้องใจกว้างยอมรับผลของการเล่นและความสามารถของผู้อื่น
                3. ทางอารมณ์ ความพอใจและไม่พอใจย่อมเกิดขึ้นในการเล่น ความพอใจเมื่อดึงหางของผู้เล่นอื่นได้ หรืออาจไม่พอใจเมื่อตนถูกดึงหางไป สิ่งเหล่านี้สามารถช่วยให้ผู้เล่นปรับอารมณ์และนำเหตุผลมาใช้ไม่ให้อารมณ์ขุนมั่วได้
                4. ทางสติปัญญา การหลบหลีก วิ่งไล่ชิงหางต้องใช้ไหวพริบ ปฎิ3ณ ต้องรู้จักสังเกต คิดหาวิธีที่เหมาะสมอยู่ตลอดเวลาและการตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ทำให้ต้องใช้สมองตลอดเวลา เป็นการฝึกแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นในใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และอาจเป็นการส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ด้วยก็เป็นได้
                5. ทางสังคม การเล่นลิงชิงหางเป็นการเล่นรวมกันของผู้เล่นทุกคน ทำให้ทุกคนที่เล่นได้ใกล้ชิดสนิทกัน ได้มีโอกาสพบปะพูดคุยกัน ทั้งยังช่วยส่งเสริมให้ผู้เล่นปรับตัวเข้ากับผู้อื่นได้

                3.3 สรุป
                การละเล่นพื้นเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่ามีการเล่นกันแล้วในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนกลาง คือ ช่วงสมัยรัชกาลที่ 5 จนถึงสมัยรัชกาลที่ ๗ การละเล่นพื้นเมืองแต่ละชนิดพบว่าเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมสัตว์ วิถีชีวิตของคนสมัยนั้นๆ การเลียนแบบข้าวของเครื่องใช้และการเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นความคิดสร้างสรรค์ของคนสมัยก่อน อีกทั้งยังคิดกิจกรรมที่สามารถเล่นได้ทุกเวลา มีความสนุกสนานเหมาะสำหรับใช้เล่นในงานรื่นเริ่งต่างๆ บางกิจกรรมเล่นได้ทั้งกลางวันและกลางคืน เล่นได้ทุกเพศทุกวัย แม้การละเล่นบางชนิดจะเหมาะสำหรับเพศชายเท่านั้น เนื่องจากสมัยก่อนยังมีความเหลื่อมล้ำทางเพศในเรื่องการให้ความสำคัญเพศชายมากกว่าเพศหญิง บางการละเล่นก็มีไว้สำหรับเล่นตามฤดู หรือบางสถานที่ เหมือนเป็นเครื่องชี้บ่งบอกว่าฤดูนั้นได้มาเยียนหรือได้มาสถานที่นี้ และอุปกรณ์การเล่นยังเป็นวัสดุธรรมชาติ หรือของใช้ใกล้ตัว ช่วยในการประหยัดและรู้จักประยุกต์ใช้ได้เป็นอย่างดี
                การละเล่นพื้นเมืองไทยถือเป็นมรดกอย่างหนึ่ง ที่สืบต่อกันมาตั้งแต่สมัยก่อน จวบจนมาถึงปัจจุบัน และยังสามารถบ่งบอกถึงวัฒนธรรมความคิดของคนสมัยก่อนได้เป็นอย่างดี อีกทั้งให้ประโยชน์ต่อผู้เล่น ไม่ว่าทางด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และอีกมากมายซึ่งเราควรจะสืบต่อเรื่อยไป